ภญ.ปิยะนุช เอื้อปัญจะสินธุ์
ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ความเย็นสบาย ฝนตก มักมาพร้อมกับอาการหวัด ภูมิแพ้ น้ำมูกไหล ไอจาม หลาย ๆ คนจึงต้องพึ่งพายาแก้แพ้ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับยาแก้แพ้ทั้งแบบง่วง และยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง
ยาแก้แพ้ (Antihistamine drug) สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ยาแก้แพ้ชนิดง่วงซึม (Sedating antihistamines)
ยากลุ่มนี้ ช่วยลดอาการแก้แพ้ ไม่ว่าจะเป็นอาการคันตา คันจมูก จาม อาการผื่นคัน ผื่นลมพิษ อีกทั้งยังช่วยลดน้ำมูกได้ดี เช่น Chlorpheniramine, Brompheniramine, Hydroxyzine นอกจากนี้ยาบางตัวในกลุ่มนี้ยังมีฤทธิ์ลดอาการไอ นั่นคือ Diphenhydramine ในบางตัวยังมีฤทธิ์ช่วยลดอาการเวียนศีรษะจากการเมารถ ได้แก่ Dimenhydrinate ยาในกลุ่มนี้มีสรรพคุณค่อนข้างหลากหลาย แต่ก็มีผลข้างเคียงหลากหลายเช่นกัน และเนื่องจากยาผ่านเข้าสมอง ไปกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ต้องระวังในการขับขี่ และการทำงานกับเครื่องจักร นอกจากนี้ยังสามารถเกิดอาการท้องผูก ปากแห้งคอแห้ง ใจสั่นได้ในบางคน สำหรับการใช้ในผู้สูงอายุต้องมีความระมัดระวังเพิ่มขึ้น เนื่องจากหากใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการหลงลืม ภาวะสมองเสื่อมได้
2. ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงซึม (non-sedating antihistamines)
ยากลุ่มนี้ เป็นยาที่ถูกคิดค้นมาใหม่กว่ายากลุ่มแรก เช่นยา Cetirizine Loratadine Fexofenadine Bilastine มีฤทธิ์ช่วยลดอาการแพ้ คันตา คันจมูก จาม ผื่นผิวหนัง อาจลดน้ำมูกในดีเท่ายาในกลุ่มแรก ซึ่งยากลุ่มนี้เป็นยาที่ไม่ผ่านเข้าสมอง จึงทำให้ไม่มีการกดประสาทส่วนนกลาง มีผลทำให้ง่วงซึมน้อย หรือไม่มีผลเลย นอกจากนี้ยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ได้นาน ในบางตัวรับประทานวันละครั้ง 1 ครั้ง จึงเหมาะในการใช้ในผู้ป่วยทุกช่วงอายุโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากยาไม่มีผลทำให้หลงลืม แต่อาจต้องระวังภาวะตับหรือไต
สำหรับยาแก้แพ้ในแต่ละกลุ่มมีทั้งข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป ความเหมาะสมสำหรับคนไข้แต่รายก็ต่างไปเช่นกัน ดังนั้นก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร
เอกสารอ้างอิง
1. ปารยะ อาศนะเสน.โรคภมิแพ้ และยาต้านฮิสทามีน. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/sirirajonline2021/Article_files/1175_1.pdf
2. รัชนี รอดศิริ. คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยาต้านฮิสตามีนกลุ่มที่ทำให้ไม่ง่วง. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563[เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=864
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
Website: https://exta.co.th/
LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)
Instagram: instagram.com/extaplus
YouTube: youtube.com/eXtaHealthBeauty
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ