565

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ที่ยังมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อการรักษาคนไข้ที่ติดเชื้อทั้งหมด ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อรายใหม่เข้าถึงการรักษาช้าลง จึงเกิดแนวคิด  Home Isolation หรือการดูแลตนเองจากที่บ้าน ซึ่งสามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ รวมถึงผู้ป่วยที่รักษาที่โรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7-10 วัน ซึ่งผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี พักอาศัยอยู่คนเดียว หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นไม่เกิน 1 คน และไม่เป็นโรคที่เสี่ยงทำให้อาการแย่ลง ยกตัวอย่างเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน 


ทั้งนี้การพิจารณาขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งการกักตัวเพื่อพักรักษาตัวที่บ้านต้องเป็นความสมัครใจของผู้ป่วยเองด้วย ข้อดีของการกักตัวที่บ้านคือจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้เร็วขึ้น และ การอยู่บ้านจะช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น ทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ไวขึ้นนั่นเอง 


ขั้นตอนในการเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้าน เมื่อตรวจพบเชื้อซึ่งรวมถึงการตรวจด้วย Antigen Test Kit ที่ผ่านการรับรองจากอย.ให้ผลเป็นบวก ให้ทำการลงทะเบียนเพื่อเป็นคนไข้ในระบบด้วยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ของสปสช. หรือโทรสายด่วนสปสช. 1330 ต่อ 14 ซึ่งหลังจากที่ลงทะเบียนแล้วนั้นจะมีเจ้าหน้าติดต่อกลับ และจะได้รับที่ปรอทวัดไข้เพื่อวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว รวมถึงยาในการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามอาการจากบุคลากรทางการแพทย์ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง  


นอกจากที่จะได้รับอุปกรณ์ที่จำเป็นแล้ว สิ่งที่เราจะต้องเตรียมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นมีรายการดังนี้ 


1. เจลล้างมือ สำหรับล้างมืออย่างสม่ำเสมอ 

2. แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ สำหรับเช็ดหลังสัมผัสสิ่งของต่างๆ 

3. หน้ากากอนามัย เพื่อสวมตลอดเวลาที่ไม่อยู่คนเดียว 

4. ถุงสำหรับขยะติดเชื้อ  

5. น้ำยาฟอกขาวสำหรับทำความสะอาด 


และการเตรียมยารักษาโรคที่รับประทานเป็นประจำก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นควรที่จะจัดเตรียมให้เพียงพอในช่วงที่การกักตัวที่บ้าน 


ข้อปฏิบัติของผู้ป่วยโควิดที่กักตัวที่บ้าน

1. ใช้ปรอทวัดไข้ วัดอุณหภูมิทุกวัน หากมีไข้เกิน 37.5 องศาเซลเซียส ควรรับประทานยาลดไข้ และพักผ่อนมากๆ หากไม่ดีขึ้นให้รีบติดต่อแพทย์ ควรบันทึกการวัดค่าเพื่อรายงานต่อบุคลากรทางการแพทย์ในแต่ละวัน 

2. วัดค่าออกซิเจนด้วยการใช้เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนปลายนิ้ว ค่าปกติไม่ควรต่ำกว่า 96% หากต่ำกว่าเกณฑ์ให้รีบติดต่อแพทย์ และควรบันทึกการวัดค่าเพื่อรายงานต่อบุคลากรทางการแพทย์ในแต่ละวัน 

3. ห้ามผู้อื่นมาเยี่ยมและแยกตัวจากบุคคลอื่นในครอบครัว แยกใช้ห้องน้ำจากผู้อื่น 

4. ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากช่วงที่รับประทานอาหาร ต้องถอดหน้ากากอนามัยอาจเกิดการแพร่เชื้อได้ รวมถึงไม่ใช่ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น 

6. ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อทำให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติไวที่สุด 

7. หมั่นเปิดหน้าต่าง เพื่อให้มีช่องทางลมเข้าออก ลดการสะสมเชื้อ 

8. ล้างมือเป็นประจำอย่างถูกวิธี อย่างน้อย 30 วินาที โดยเฉพาะหลังการไอ จาม และขับถ่าย  

9. ผู้ป่วยควรหมั่นทำความสะอาดของที่มีการสัมผัสร่วมกันหลังมีการหยิบจับ เช่น ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ เพื่อไม่ให้คนอื่นที่มาใช้ต่อเสี่ยงรับเชื้อ 

10. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่มีบุคคลอื่นอยู่ร่วมด้วย 

11. ซักผ้าด้วยสบู่หรือผงซักฟอก ในน้ำอุณหภูมิ 60-90 องศาเซลเซียส 


ทั้งนี้ให้หมั่นสังเกตตนเองหากมีอาการไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วได้ต่ำกว่า 96% มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจติดขัด นอนราบไม่ได้ ซึมลง ให้รีบติดต่อแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยในระบบทันที 



เอกสารอ้างอิง

1.Thaihealth.or.th. 2021. คู่มือ การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) - Thaihealth.or.th | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). [online] Available at: <https://www.thaihealth.or.th/Books/735/คู่มือ+การแยกกักตัวที่บ้าน+(Home+Isolation).html> [Accessed 6 September 2021]. 



สินค้าที่เกี่ยวข้อง


หน้ากากอนามัยเอ็กซ์ต้า ซอง 5 ชิ้น (แพ็ก 20 ซอง)

คลิก >> https://bit.ly/3lGXGO8


แอลกอฮอล์ แฮนด์ เจล เอ็กซ์ต้า ขนาด 42 กรัม (แพ็ก 3 หลอด)

คลิก >> https://bit.ly/3o4cvNw


ดิจิตอลเทอร์โมมิเตอร์ ไมโครไลฟ์ 1 ชิ้น

คลิก >> https://bit.ly/3kt6nfO