58


ฤดูหนาวคงเป็นฤดูที่ใครหลายคนรอคอย อากาศเย็นๆ และหมอกขาวบนดอยสูง แต่อุณหภูมิที่เย็นลง ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน หากเราไม่เตรียมสุขภาพของเราให้พร้อมไว้ก่อน 


อากาศที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน โดยโรคที่มักจะเกิดในฤดูหนาว เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม 


ไข้หวัด จะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บหรือแสบคอ 


ไข้หวัดใหญ่ อาการจะรุนแรงกว่าไข้หวัด จะมีอาการตัวร้อนจัด ปวดศีรษะมาก หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อ่อนเพลียมาก และต้องระวังโรคแทรกซ้อน คือ ปอดบวม


ทางที่ดีที่สุด ก็คือ เราควรเตรียมสุขภาพของเราให้แข็งแรงตั้งแต่ก่อนที่จะป่วย ซึ่งมีวิธีดังนี้ 


1. การรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่มีความหนาเพียงพอ ห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น 

2. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป

3. กินอาหารร้อนๆ ให้ครบ 5 หมู่

4. ดื่มน้ำอุ่นวันละ 6-8 แก้ว 

5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

6. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ และไม่ควรใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน เป็นต้น

7. ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ต้องออกไปอยู่ในสถานที่สาธารณะ


อ้างอิง

1. ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. 2553 “ผู้สูงอายุกับการดูแลสุขภาพในหน้าหนาว” https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=785 (15 กันยายน 2563.)

2. ผศ.อุดมศักดิ์ ศิลาจำรูญ. โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. “หนาวนี้ดูแลสุขภาพอย่างไร” https://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-knowledge/e-magazine/e_magazine-17-3-1.pdf (15 กันยายน 2563)