55

ตอนที่ 6 ประโยชน์ของ P-PAC ต่อสังคมส่วนรวม

ลายผิววิทยานอกจากสามารถนำมาใช้ในงานทรัพยากรบุคคล และการศึกษาแล้ว ยังสามารถใช้ในการตรวจสอบความผิดปกติของระบบประสาท เนื่องจากลายผิวบนฝ่ามือ และฝ่าเท้ามีความสัมพันธ์กับโครโมโซม และการพัฒนาของสมองในช่วงที่ยังอยู่ในครรภ์ การแพทย์ในปัจจุบันมีการศึกษารูปแบบที่เหมือนกันของเด็กพิเศษ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กลุ่มออทิสซึ่ม โดยในปี ค.ศ. 1930 ได้มีการศึกษาลายมือ และลายนิ้วมือของผู้ป่วยโรคพันธุกรรมในกลุ่มอาการบกพร่องทางสมองแต่กำเนิด พบว่าเส้นลายนิ้วมือสามารถบ่งบอกอาการบกพร่องทางสมองแต่กำเนิดได้ และต่อมาได้มีผลการวิจัยพิสูจน์ได้ว่าผู้ป่วยในกลุ่มดาวน์ซินโดรม จะมีเส้นลายมือในลักษณะพิเศษ ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคในเด็กแรกเกิดที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครโมโซมได้ และเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์แล้วว่าลายผิววิทยาสามารถช่วยบ่งชี้โรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว การศึกษาวิชา "Dermatoglyphics" จึงได้ถูกบรรจุในหลักสูตรแพทยศาสตร์ของหลายประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยในประเทศเยอรมันนี เป็นตัน


อาจารย์เหลียนเองซึ่งปัจจุบันได้เปิดสำนักงานใหม่ในกรุงปักกิ่งประเทศจีนระบุว่า ในประเทศจีนนั้นหนึ่งในสามของเด็กที่เข้ามาวิเคราะห์กับอาจารย์เหลียน มีอาการผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งความผิดปกติในเด็กกลุ่มนี้หากเราสามารถบ่งชี้ได้เร็วเท่าใดก็ยิ่งเป็นประโยชน์ในการบำบัดรักษา และพัฒนาเด็กได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าจะไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับสู่ปกติได้ แต่ก็เพื่อให้เด็กพิเศษเหล่านี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้างในชีวิตประจำวัน เป็นการแบ่งเบาภาระให้แก่ผู้ปกครองในทางหนึ่ง


นอกจากประโยชน์ในการดูแลเด็กกลุ่มพิเศษแล้ว ลายผิววิทยายังสามารถนำมาช่วยวิเคราะห์ด้านจิตวิทยาได้อีกด้วย เพราะบางครั้งปัญหาภาวะผิดปกติทางจิตก็เป็นอุปสรรคต่อการเรียน หรือพัฒนาการของเด็กได้เช่นกัน จากการศึกษาของอาจารย์เหลียนในปัจจุบันพบว่าหลายกรณีเกิดเพราะภาวะความกดดันจากปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งมักจะเกิดมากในกลุ่มเด็กที่มีสมองซีกขวาโดดเด่นกว่าซีกซ้าย และกลุ่มบุคลิกแบบนกยูง เนื่องจากทั้งสองกลุ่มนี้มีการตอบสนองทางอารมณ์ที่อ่อนไหวเป็นพิเศษกว่ากลุ่มอื่น ๆ ผมมีกรณีตัวอย่างของนักศึกษาหญิงคณะแพทย์ที่ประเทศไต้หวันมาเล่าให้ฟัง นักศึกษาคนนี้เดิมเป็นคนสนุกสนานร่าเริงมีความมั่นใจในตนเองสูง เรียนดีจนสามารถสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ได้ แต่อยู่ ๆ ก็กลายเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวไม่พูดไม่จา กลายเป็นคนมีปัญหาทางจิตจนต้องขอพักการเรียนไว้ก่อน พ่อแม่พาไปปรึกษากับอาจารย์เหลียนเพราะไปหาจิตแพทย์แล้วก็ยังไม่ได้ผล ผลวิเคราะห์ออกมาบอกว่า เด็กคนนี้มีบุคลิกเป็นแบบนกยูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการการยอมรับจากสังคุม และมีอารมณ์อ่อนไหวมาก คิดอย่างไรก็แสดงออกอย่างตรงไปตรงมา ให้ลองสืบดูว่ามีปัญหาอะไรในชั้นเรียนหรือไม่


ปรากฏว่า นักศึกษาคนนี้เคยถูกอาจารย์กล่าวตำหนิอย่างรุนแรงในชั้นเรียนต่อหน้าเพื่อน ๆ เรื่องการแต่งกายที่มีสีสันฉูดฉาดเหมือนมาเดินแบบมากกว่าจะมาเรียนหนังสือ และยังถูกไล่กลับไปเปลี่ยนเสื้อมาใหม่ค่อยเข้าชั้นเรียน ปัญหาอาจดูไม่รุนแรงใหญ่โตสำหรับคนอื่น ๆ แต่สำหรับกลุ่มนกยูงที่อารมณ์อ่อนไหว และกลัวถูกปฏิเสธจากสังคมแล้ว มันรุนแรงเพียงพอที่จะทำร้ายจิตใจอย่างแสนสาหัส ดังนั้นการปฏิบัติต่อเด็กที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ นั้น บางครั้งต้องศึกษาดูแรงจูงใจของพฤติกรรมก่อนการทำความเข้าใจปัญหาของเด็กสามารถช่วยแก้ปัญหาได้มากกว่าการตำหนิเพียงอย่างเดียว


ประสบการณ์ในกรณีศึกษากลุ่มเด็กของอาจารย์เหลียนยังมีอีกมากมาย เด็กบางคนถูกมองว่าเป็นเด็กไฮเปอร์ หรือเด็กออทิสติก ทั้งที่ความจริงอาจมีสาเหตุมาจากอาการอื่น จากการศึกษาด้านลายผิววิทยาพบว่า เด็กบางกลุ่มสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ดีผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เด็กบางคนต้องให้ลงมือทำถึงจะเข้าใจได้เร็ว เด็กบางคนเวลาแสดงออกจะมีอาการ “Over Action” ทำให้ดูเหมือนอาการลุกลี้ลุกลนไม่ค่อยอยู่นิ่ง วิธีการบำบัดด้วยการใช้ยานั้นควรพิจารณาให้รอบคอบ และปรึกษาผู้เชี่ยชาญเฉพาะด้าน เพราะในระยะยาวแล้ว การใช้ยาอาจส่งผลข้างเคียงกับตัวเด็กได้ จากการศึกษาของอาจารย์เหลียนพบว่า บ่อยครั้งที่เด็กอยู่ไม่ค่อยนิ่งเพราะมีพลังงานสะสมในร่างกายมากแต่สามารถแก้ไขด้วยวิธีง่าย ๆ ด้วยการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานส่วนเกินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากจะช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาแล้ว ยังส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายแข็งแรงอีกด้วย


การดูแลเด็กพิเศษในกลุ่มต่าง ๆ ทั้งกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ออทิสติก หรือกลุ่มเด็กพิเศษอื่น ๆ ย่อมต้องการความดูแลเอาใจใส่ต่างกันด้วยหลักการของลายผิววิทยานั้น ทำให้เราสามารถพบปัญหาความบกพร่องแต่กำเนิดนี้ได้ เด็กพิเศษแต่ละคนมีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ต่างกันไป ในประเทศจีนมีวาทยากรหนุ่มคนหนึ่งอายุประมาณสามสิบปีซื่อโจวโจว 

(舟舟) โจวโจวเคยกำกับวงซิมโฟนีที่หอประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติจีนในการแสดงต้อนรับแขกคนสำคัญของรัฐบาลจีน เคยกำกับวง Southampton Symphony Orchestra ตอนเปิดการแสดงในประเทศจีน และเคยเดินสายเปิดการแสดงในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา ฟังดูแล้วท่านอาจยังรู้สึกเฉย ๆ ไม่ตื่นเต้น แต่ถ้าเฉลยว่าโจวโจวเป็นเด็กพิเศษตั้งแต่กำเนิดคงพอจะทำให้ท่านประหลาดใจ 


โจวโจว เกิดในวันที่หนึ่งเมษายน หรือ "April Fool's Day" ในปี 1978 หมอวินิจฉัยว่าโจวโจวมีอาการผิดปกติของโครมโซม อยู่ในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม พ่อของโจวโจวเป็นนักเชลโลในวงซิมโฟนีมักจะพาโจวโจวติดตามคณะซิมโฟนีเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งขณะที่วงกำลังซ้อมเตรียมการแสดงอยู่นั้น โจวโจวก็ปีนขึ้นไปบนเวที่แสดงท่าทาง ตามวาทยากร คนในวงต่างแปลกใจที่เห็นโจวโจวสนใจอย่างจริงจัง ทั้งที่ปกติไม่ค่อยกล้าแสดงออก นับแต่นั้นมาจึงช่วยกันสนับสนุนส่งเสริม และปัจจุบันโจวโจวเป็นหนึ่งในสมาชิกวงซิมโฟนีคนพิการของประเทศจีนที่เดินสายเปิดการแสดงไปทั่วโลก


เรื่องราวของโจวโจว สอดคล้องกับแนวทางพัฒนารายบุคคลของ "P-PAC" ซึ่งมุ่งส่งเสริมความสามารถที่โดดเด่นของแต่ละบุคคลโดยมองข้ามจุดอ่อนของเขา ถ้าเราสามารถถอดรหัสสมองแต่ละคนได้ และส่งเสริมจุดเด่นได้ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในด้านสังคม และครอบครัวในแต่ละองค์กร สมาชิกทุกคนล้วนเป็นสมบัติล้ำค่าที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน อาจแตกต่างกันไปตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โอกาส และความสามารถ แต่ต้องผสมส่วนเหมือนผสานส่วนต่างร่วมเป็นพลังสร้างสรรค์ให้เกิดความเจริญรุ่งเรื่อง เช่นเดียวกับที่ประชาชนทุกคนล้วนเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะยากดีมีจน ทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกลไกขับเคลื่อนประเทศไทย การพัฒนาศักยภาพของคนในสังคม จึงเท่ากับเป็นการพัฒนาศักยภาพของประเทศไปด้วยในเวลาเดียวกัน


P-PAC ขอเป็นส่วนหนึ่งในการค้นหา และพัฒนาศักยภาพของประชาชนชาวไทยให้โดดเด่นไม่แพ้ชาติใด ๆ ในแผนที่โลก !