193


เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง อาการของโรคหวัด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ เจ็บคอ หรือแม้ไข้ก็กลับมาอีกครั้ง ซึ่งคำถามที่มาพร้อมกับอาการเหล่านี้ คือ ต้องเลือกใช้ยาตัวไหนเพื่อบรรเทาอาการ รวมถึงควรใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือไม่?


แต่ก่อนที่เราจะไปหาตอบคำถามเรื่องยา เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบนมีหลากหลายโรค ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น

• การติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด 

• การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ 

• เกิดจากการแพ้ เช่น แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ 


อาการแสดงจากการเป็นโรคมีความคล้ายคลึงกัน ทั้งไข้ ไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก เพียงแต่ความรุนแรงหรืออาการร่วม อาจมีความแตกต่างกันในบางโรค เช่น ถ้าเป็นต่อมทอนซิลอักเสบ จะมีตุ่มหนองที่ต่อมทอนซิล ที่อยู่ในช่องปากร่วมกับอาการเจ็บคอมาก ถ้าเป็นโรคไซนัสอักเสบจะมีอาการปวดโพรงจมูกร่วมหรือถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่ จะมีไข้สูงร่วมกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลียเป็นอาการเด่น แต่การที่จะรู้ได้แน่ชัดว่าเป็นโรคอะไร อาจต้องใช้การประเมินจากอาการร่วมกับการตรวจโรคโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ใช้ชุดตรวจ ATK ตรวจสอบว่าติดเชื้อโคโรนาไวรัสหรือไม่ ใช้ชุดตรวจไข้หวัดใหญ่ หรือแม้กระทั่งการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งต้องตรวจที่โรงพยาบาลและวิเคราะห์ผลโดยผู้เชี่ยวชาญ 


เมื่อมีอาการของโรคหวัด ต้องใช้ยาแก้อักเสบหรือไม่?

อาการอักเสบ หมายถึง อาการปวด บวม แดง ร้อน และทำให้อวัยวะที่อักเสบเคลื่อนไหวได้ลำบาก และยาแก้อักเสบทางการแพทย์ คือ ยาที่ลดหรือบรรเทาอาการเหล่านี้ ซึ่งก็คือยากลุ่มที่เรียกว่า NSAIDs เช่น ยา Ibuprofen, Mefenamic acid เป็นต้น แต่คำว่ายาแก้อักเสบที่หลาย ๆ คนถามหาเมื่อมีอาการหวัดหรือเจ็บคอ น่าจะหมายถึงยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักของโรค 


ดังนั้น ถ้ามีอาการของโรคหวัดแต่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากเป็นการได้รับยาเกินความจำเป็น เสี่ยงต่ออาการข้างเคียง รวมถึงอาจทำให้เกิดการดื้อยาถ้าไม่ได้ใช้ต่อเนื่องจนหมด การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการแต่ละอาการที่มีเป็นสิ่งที่เหมาะสมมากกว่า


ยาที่ควรใช้เมื่อเป็นหวัด 

สิ่งที่ควรทำเมื่อเป็นหวัดคือพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการที่มี โดยยาที่สามารถเลือกใช้มีดังนี้ 



นอกจากนี้ ยังควรล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก และกำจัดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการแพ้ 


การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการของโรคหวัด 

• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ 

• ดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว 

• หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค 

• หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และแยกที่พักให้เป็นสัดส่วน ห่างจากสมาชิกในบ้าน

• ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เป็นประจำ ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม 

• รีบปรึกษาแพทย์ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการไข้สูง อ่อนเพลียมาก เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ อาเจียนมาก หายใจแน่นติดขัด 


เอกสารอ้างอิง

1. คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. Clinical Practice Guideline for Influenza. 27 กันยายน 2554 

2. วสุ ศุภรัตนสิทธิ. รับมือโรคหวัดอย่างไรให้เหมาะสม. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

Website: https://exta.co.th/

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

Instagram: instagram.com/extaplus

YouTube: youtube.com/eXtaHealthBeauty


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ