453


กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis)  


ประโยชน์ของสาร THC และ CBD ในกัญชา 

• สาร CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง 

• สาร THC มีผลต่อจิต ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร 


กลุ่มไหนที่ต้องระวังการใช้ "กัญชา" 

กลุ่มที่ 1 ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

• เด็ก วัยรุ่น (อายุน้อยกว่า 25 ปี) มีผลเสียต่อการพัฒนาทักษะ และสมอง 

• สตรีมีครรภ์ และแม่ผู้ให้นมบุตร มีผลเสียเด็กในครรภ์ และทารกที่ดื่มนม 

• ผู้มีโรคปรจะตัว โดยเฉพาะผู้มีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด 

กลุ่มที่ 2 ผู้ที่ต้องการทดลองใช้ หรือทดลองสูบ

• ผู้ที่ทดลองใช้หรือสูบครั้งแรก 

• ควรประเมินร่างกายตนเอง ก่อนสูบ หากมีอาการทางระบบหายใจ ควรหยุดสูบทันที 

• ในการสูบครั้งแรก ไม่ควรสูบลึกมาก และไม่ควรอัดไว้ในปอด (อาจทำให้ได้รับ THC เยอะเกินไป) 

• กัญชาในอาหาร เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผู้บริโภคควรสอบถามร้านค้าในเรื่องปริมาณความเข้มข้นที่ใช้ก่อน 

กลุ่มที่ 3 ผู้เสพกัญชา 

• งดขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานกับเครื่องจักร (ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) 

• งดใช้กัญชาร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ 

• งดการสูบในที่ที่มีเด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้มีโรคทางเดินหายใจ 

• หากเริ่มมีอาการติดหรือมีผลในการดำเนินชีวิต ควรปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมปริมาณในการใช้

 

เรามาเช็กกันว่าอาการแพ้กัญชา หรือเมากัญชาเป็นแบบไหน แล้วถ้าเผลอรับกัญชาเข้าไปแล้วเกิดเมา หรือแพ้ เราควรแก้ยังไงดี รวมถึงอาการข้างเคียงจากกัญชาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในบางคนที่ไวต่อสารในกัญชามาก หรือได้รับกัญชาในปริมาณที่เกินควร ได้แก่ 

• ง่วงนอนมากกว่าปกติ 

• ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ 

• วิงเวียนศีรษะ 

• คลื่นไส้ อาเจียน 

 

อาการแพ้กัญชา-เมากัญชา แบบไหนควรพบแพทย์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับบางคน ได้แก่ 

• หัวใจเต้นเร็วและรัว ผิดจังหวะ 

• เป็นลมหมดสติ 

• เจ็บหน้าอก ร้าวไปที่แขน 

• เหงื่อแตก ตัวสั่น 

• อึดอัด หายใจไม่สะดวก 

• เดินเซ พูดไม่ชัด 

• สับสน กระวนกระวาย 

• วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล 

• หูแว่ว เห็นภาพหลอน 

• พูดคนเดียว 

• อารมณ์แปรปรวน 


เมากัญชาแก้อย่างไร สามารถแก้อาการได้เบื้องต้น ตามนี้เลย 

• หากมีอาการคอแห้ง : ให้ดื่มน้ำเปล่าตามในปริมาณมากๆ หรือดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลทราย 

• หากมึนเมา : ให้บีบมะนาวครึ่งลูกผสมเกลือปลายช้อนแล้วกิน หรือเคี้ยวพริกไทยแก้เมา 

• หากวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน : ให้ดื่มชาชงจากขิงหรือน้ำขิง ชาชงรางจืด ดื่มวันละ 3 เวลา แก้อาการโคลงเคลง 


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ


เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข : กัญชา ทางการแพทย์ 

https://www.medcannabis.go.th/blog/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2