55.9 k

วิธีการใช้ Antigen Test Kit เบื้องต้น

Antigen Test Kit ชุดตรวจ COVID-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง ชุดทดสอบอย่างง่าย และรวดเร็ว เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกัน ก่อนเข้ากระบวนการตรวจชนิดยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการ

 1.ใช้ไม้ swab แยงโพรงจมูก หมุนวนอย่างน้อย 5 รอบ เพื่อให้ได้สิ่งคัดหลั่งมามากที่สุด

 


2.จุ่มไม้ swab ลงหลอดใส่น้ำยาสกัด หมุนและบีบอย่างน้อย 5 รอบ นำไม้ Swab ออก แล้วปิดด้วยฝาหลอดหยด แล้วหยดน้ำยาลงในตลับทดสอบตรงจุดที่กำหนด รอประมาณ 15-30 นาที เพื่ออ่านผลตามคำแนะนำในคู่มือ



3. การอ่านผลและแปลผลทดสอบ



• ปรากฏเฉพาะแถบ C คือ ผลเป็นลบ Negative (ไม่พบเชื้อ)

• ปรากฏ 2 แถบ C และ T คือ ผลเป็นบวก Positive (พบเชื้อ)

• ไม่ปรากฏ 2 แถบ C และ T คือ ผลใช้งานไม่ได้ ให้สังเกตที่เส้น C หากเส้นไม่ขึ้นวิธีการตรวจไม่ถูกต้อง ควรตรวจหาเชื้อใหม่อีกครั้ง


การแปลผลทดสอบ

1. เส้นแถบสี C คือเส้นควบคุม และ T คือเส้นทดสอบ ในการทดสอบแถบสีทั้งสองเส้นจะต้องแสดงไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถแปลผลได้

2. ถ้าแถบสีขึ้นตรง C และ T แปลผลว่าเป็นบวก ถึงแม้ความเข้มของสีจะไม่เท่ากันก็ตาม คือมีเชื้อต้องรีบไปตรวจ RT-PCR โดยเร็ว

3. ถ้าแถบสีขึ้นตรง C จุดเดียว ผลการทดสอบเป็นลบ ควรพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอาจอยู่ในระยะฟักตัว ควรทำการแยกตัว และทดสอบซ้ำอีกครั้งภายหลัง 3-5 วัน


การปฏิบัติตน หลังทราบผลการทดสอบด้วย Antigen Test Kit


กรณีผลการทดสอบให้ ผลบวก

1. ให้แจ้งหน่วยบริการใกล้บ้านที่ติดต่อได้

2. แยกกักตัวเอง แยกใช้ห้องน้ำ และของใช้ส่วนตัว หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง

3. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการหายใจลำบากควรติดต่อขอเข้ารักษา

4. แจ้งผู้ใกล้ชิดให้ทราบความเสี่ยง และติดต่อหน่วงงานภาครัฐเบอร์ 1330,1669,1668


 


กรณีผลการทดสอบให้ ผลลบ

หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อาจอยู่ในระยะฟักตัว ควรทำการแยกตัว และทดสอบซ้ำอีกครั้งภายหลัง 3-5วัน

หากปรากฏอาการของโรค โควิด-19 ควรทำการทดสอบซ้ำทันที หากมีประวัติเสี่ยงควรแยกกักตัว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

 


Q&A คำถามคลายข้อสงสัย Antigen Test Kit


1. ถาม หลังจากตรวจรอบแรก แล้วเป็นผลลบ อีกกี่วันตรวจซ้ำได้

 ตอบ ผลที่ตรวจเป็นลบ (Negative) แปลว่า ผู้ป่วยไม่ติดเชื้อหรือมีปริมาณเชื้อที่น้อยมากจนตรวจไม่พบ (เนื่องจากเกิดก่อนที่เชื้อจะฟักตัวจนมีปริมาณที่มากพอ) ถ้ามีประวัติเสี่ยง หรือมีอาการป่วย เช่น มีน้ำมูก ไอ ไข้ ควรปฏิบัติดังนี้ ควรตรวจซ้ำ 3-5 วัน หลังจากการตรวจครั้งแรกด้วย Rapid Antigen Test Kit เฝ้าสังเกตอาการ หรือกักตัว 14 วัน (กรณีสัมผัสผู้ติดเชื้อ) อาจตรวจซ้ำด้วยวิธีอื่น เช่น RT-PCR


2. ถาม ชุดตรวจเหมาะสำหรับใคร

 ตอบ เหมาะสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง หรือผู้ที่มีอาการทางเดินหายใจ ผู้สัมผัสใกล้ชิด หรือสงสัยสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย โควิด-19


3. ถาม ชุดตรวจ Antigen Test Kit มีความแม่นยำอย่างไร

 ตอบ ความแม่นยำของผลตรวจ Antigen Test Kit ของแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลากหลาย เพื่อความแม่นยำสูงสุดในการตรวจ ควรศึกษาวิธีการใช้ และการเก็บตัวอย่าง ของแต่ละยี่ห้ออย่างเคร่งครัด ตรวจสอบวันหมดอายุ บรรจุภัณฑ์ให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน และเก็บรักษาในอุณหภูมิที่กำหนด


4. ถาม มีข้อควรระวังในการเลือกซื้อและการใช้งานอย่างไร

 ตอบ 1. ปฏิบัติตามคำแนะนำ และวิธีการใช้งานของชุดตรวจของแต่ละยี่ห้ออย่างเคร่งครัด

2. ควรอ่านผลตรวจตามเวลาที่ชุดตรวจกำหนด การอ่านผลเร็ว หรือช้าเกินไป อาจทำให้เกิดให้ผลลบปลอม

3. ชุดตรวจที่นำมาใช้ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น เนื่องจาก (อย.) มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน




 

5. ถาม มีวิธีการทิ้งชุดตรวจให้ปลอดภัยอย่างไร

ตอบ  

1. รวบรวมชุดทดสอบ Antigen Test Kit ที่ทดสอบแล้วพร้อมอุปกรณ์ของชุดตรวจที่เหลือทั้งหมดจากการใช้งาน     นำใส่ถุง แล้วราดตามด้วยแอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือสารฟอกขาว เพื่อฆ่าเชื้อโรค หลังจากนั้นปิดถุงให้สนิท เพื่อป้องกันการปนเปื้อนกับภายนอก

   2. แยกชุดทดสอบ Antigen Test Kit ที่ใช้แล้ว ใส่ถุงพลาสติกสีแดงที่ระบุข้อความ “ขยะติดเชื้อ” บนถุงอย่างชัดเจน

   3. แยกทิ้งจากขยะทั่วไป โดยแยกทิ้งกับรถเก็บขยะมูลฝอยของเขต หรือถังขยะติดเชื้อ เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

   4. ล้างมือให้สะอาดทันทีหลังทิ้งขยะติดเชื้อ

 


ดาวน์โหลดได้เลยที่ >> bit.ly/3zx6hZg